โครงการ/กิจกรรม

โครงการ “คลินิกสุขภาพหู” สำหรับทุกจังหวะ โดยคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมพิเศษ Silpakorn Music x FATFreq (Singapore): In Ear Monitoring (IEMs) Workshops & Lectures เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 เวลา 13.00-14.30 น. ณ อาคารเรียนดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง แจกฟรี! ผักปลอดสารจากสวน “พี่พร้อม” วันนี้ “พี่พร้อม” มีผลผลิตจากสวน “พี่พร้อม” มากแจกฟรีค่า ไม่ว่าจะเป็นน้องนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร
หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถมารับไปได้เลย ที่บริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์

Silpakorn University International College (SUIC) is proud to announce that 18 Bachelor of Fine Arts in Digital Communication Design (DCD) students have been selected to participate in an exciting exchange program at Birmingham City University (BCU) in the United Kingdom. The exchange takes place from September 2024 until January 2025, providing students an enriching opportunity to expand their global perspectives while enhancing creative and academic skills.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ D CEO Network 2 : D CEO Driven ESG ภายใต้โครงการ D CEO NETWORK รุ่น 2 : D CEO Driven ESG ขับเคลื่อนเครือข่ายผู้บริหารระดับสูง ส่งเสริมการเติบโตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 2 ประจำปี 2567

“โฮมเสตย์บ้านถ้ำเสือ” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชน และกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ โดยพยายามสร้างชุดความรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมศูนย์ในประเด็นซีโร่คาร์บอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปช่วยดำเนินการในการพัฒนาแบรนด์และหาวิธีสื่อสารประเด็นซีโร่คาร์บอนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นจากพื้นที่เมืองนอกเขตจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขยายฐานความรู้ให้กว้างขึ้นกว่าการจำกัดแค่ในพื้นที่จ. เพชรบุรี

“ไร่เพชรมาลัยกุล” สถานที่ท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตรที่ดำเนินกิจการด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้การทำเกษตรยั่งยืน และการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริ เช่น การปลูกป่า 5 ระดับ การจัดการคาร์บอนเครดิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและออกแบบจัดทำโบรชัวร์เพื่อการประชาสัมพันธ์

“โตนดคราฟท์” นวัตกรรมเครื่องคราฟต์โซดาที่นำน้ำตาลสด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี นำมาทำเป็นเครื่องดื่มเสนอขายพร้อมการประชาสัมพันธ์น้ำตาลโตนดซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักหรือวัตถุดิบขึ้นชื่อที่สำคัญของคนเพชรบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทำวิดีโอเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ที่กว้างขึ้นให้กับคุณค่าของน้ำตาลโตนด

สรุปการประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการเทศกาลตลาดดอกไม้กรุงเทพ 2567: ฉัน_ดอกไม้_คุณ” (I Flower You: Bangkok Flower Market Festival 2024) ตาม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณพบว่า 1) มีผู้ร่วมงานทั้งหมด 37,639 คน-ครั้ง (สูงกว่าค่าเป้าหมาย) และ จำนวน engagement แบบ online มากกว่า 200,000 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการอบรมป้องกันอัคคีภัยประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือกับอัคคีภัยแก่บุคลากรและนักศึกษา โดยอาจารย์เอกชัย ภูมิระรื่น รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและพันธกิจเพื่อสังคม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งกล่าวถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและปลอดภัย

สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการความรู้สู่น้อง ครั้งที่ 21 และศึกษาพัฒนาครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ Green Entech Green Campus ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ภายในงานมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการขยะ ความสำคัญของการแยกขยะ และการรีไซเคิลขวดน้ำดื่ม หรือ PET (Polyethylene Terephthalate) เพื่อช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากนักศึกษาและบุคลากรเป็นอย่างมาก โดยสามารถรวบรวมขวด PET และพลาสติกใสยืดได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ต่อไป

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ที่ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ด้านศิลปะไทยให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่วัดไชยวัฒนาราม วัดเชิงท่า และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร จัดโครงการสัมมนา การนำเสนอผลการสร้างนวัตกรรมทางจิตวิทยา

โครงการ Thailand Culture 21 Best Practice ได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านริมคลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนค้นหาคำตอบเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนาวัฒนธรรมในพื้นที่ และแนวทางการต่อยอดวัฒนธรรมในพื้นที่ให้ยั่งยืนในระยะยาว กิจกรรมประกอบด้วยการตั้งคำถามชวนคิดถึงมุมมองวัฒนธรรมสมุทรสงครามในหลายประเด็น

ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการสัมมนาพิเศษในหัวข้อ “Sustainable Travel: The World’s Trendy Carbon Neutral Hotels”

โครงการวิจัย “การศึกษาการนำไปใช้ได้ของจุลธาตุอาหารในดินและปุ๋ยด้วยเซนเซอร์ฟลูออเรสเซนต์ราคาประหยัดแบบตาเปล่าสำหรับการเกษตร” (FF 2567) ทีมผู้วิจัยนำโดย รศ.ดร.นัทธีรา สรรมณี จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ศ.ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ, ผศ.ดร.กฤช เศรษฐการ, ผศ.ดร.สุนทร สุวอเขียว จากภาควิชาเคมี และ ผศ.ดร.ปรารถนา เผือกวิไล จากภาควิชาชีววิทยา ทีมนักศึกษาปริญญาโท 3 คน และปริญญาตรี 3 คน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรม SCSU One Day Camp8 ในวันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมนมาลย์ จันทร์เอี่ยม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นประธานเปิดโครงการฯ ต่อด้วยกิจกรรม Workshop สุดพิเศษ ในหัวข้อ “เริ่มก่อน ลดโลกร้อนได้ก่อน”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรม หน่วยวิจัย Renew Reborn ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นำโดยรองอธิบดี ร.ต.อ. วิษณุ ฉิมตระกูล และคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) รับมอบฝาขวดพลาสติกจำนวน 60,000 ฝา เพื่อใช้ในงานวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ได้รับเกียรติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (NIA) เดินทางมาเยี่ยมชมการดำเนินงานของหน่วยวิจัย Renew Reborn พร้อมทั้งนำฝาขวดพลาสติกมาบริจาคเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากฝาขวดพลาสติก โดยทางหน่วยวิจัยได้จัดให้ผู้เยี่ยมชมได้มีส่วนร่วมในการผลิตของที่ระลึกจากฝาขวด ซึ่งสร้างความประทับใจและความสนุกสนานแก่ทุกท่าน

วันที่ 7 กันยายน 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดโครงการ “การจัดการขยะทางน้ำจากอัมพวาสู่อ่าวไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดสมุทรสงคราม

On 12 September 2024, Bachelor of Business Administration in Luxury Brand Management students, Silpakorn University, begin an exciting journey at the Paris School of Business for their third year abroad. We wish them a year full of enriching experiences, cultural discovery, and top-tier education. Paris, get ready for their passion and brilliance in luxury brand management!

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต กิจกรรมครั้งนี้เป็นการทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นของฝากของที่ระลึก กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค. – 19 ก.ย.2567

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการ Chinese is fun เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาจีนให้กับบุคลากรสายสนับสนุน ในการเพิ่มพูนพื้นฐานความรู้ภาษาที่ 3 สำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิระ จันทราช รองคณบดีฝ่ายพัฒนาองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวเปิดโครงการฯ ทั้งนี้โครงการฯ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม – 13 กันยายน 2567 โดยจัดในทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 15.30 – 16.30 น. ณ ห้องกิจกรรมอาจารย์ ชั้น 2 อาคารศึกษาศาสตร์ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และแพลตฟอร์ม Roaming Elephants จัดทำโครงการ Thailand Culture 21 best practice เพื่อประกาศจุดยืนในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมไทยสู่ความยั่งยืนและเชื่อมโยงเครือข่ายวัฒนธรรมไทยสู่ระดับสากล โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด Agenda 21 for Culture และจัดทำองค์ประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากมิติวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชน/แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมในประเทศไทย สร้างความตระหนักรู้และนำวัฒนธรรมมาเป็นต้นทุนในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกับนานาประเทศต่อไป

การจัดโครงการนี้ฯ เป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของคณะจิตรกรรมฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาศิลปะที่มีศักยภาพและความสำคัญระดับนานาชาติ และเพื่อเชิดชูเกียรติและเปิดตัวหนังสือ เพื่อผลิดอกและออกใบ: หนังสือรวมบทความคัดสรรด้านศิลปะ และการศึกษาของสมพร รอดบุญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2557

ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการบริการวิชาการ “การสานสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม: 1 ภาควิชา 1 ชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Social Engagement)” ภายใต้หัวข้อ “สูงวัยเรียนรู้เท่าทันโลก (โรค): เรียนรู้การใช้แอปพลิเคชันอย่างปลอดภัยและป้องกันโรคภัยจากการใช้มือถือ” โดยกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และวันที่ 13 กันยายน 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านภาษา สังคม และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีนักศึกษาจากคณะวิทยาการจัดการ และนักศึกษาต่างชาติจาก University Brunei Darussalam ประเทศบรูไน เข้าเยี่ยมชมตลาดโอ๊ะป่อย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2567 สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนและความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดิน เพื่อความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจของชุมชน และเป็นการปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวรรยา ธรรมอภิพล พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ เข้ารับฟังการบรรยายการทำเกษตรกรรมสวนกาแฟอย่างยั่งยืนและร่วมกิจกรรมวิธีการปลูกกาแฟ การเก็บเมล็ดกาแฟ การคั่วเมล็ดกาแฟ และการชงกาแฟสำหรับผู้ประกอบการ ณ ชุมชนภูเสือเต้นและชุมชนท้องตมใหญ่ จังหวัดชุมพร

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะบริเวณชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเทศกิจ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 – 7 ก.ย. 2567

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP และกิจกรรมจ้างเหมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2567 – 1 ก.ย. 2567

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นของฝากของที่ระลึก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. – 31 ส.ค. 2567

การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดโครงการ “การจัดทำแผนแม่บท
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยศิลปากร” ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และเข้าร่วมโครงการฯ

หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “Open House Wizard Day” กิจกรรมเปิดบ้านหอสมุด
วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2567 โดยภายในงานได้จัดกิจกรรมส่งเสริม
การใช้บริการของหอสมุดและกิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม
“พี่ชวนกรีน” ภายใต้ชื่อฐานความรู้ “Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”)
ซึ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการของเสียและมลพิษ

นับเป็นการแข่งขันสุดพีคสายครีเอทีฟด้านศิลปะและภาพยนตร์สั้นที่จัดมาถึง 26 ปี ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดสื่อแอนนิเมชันและภาพยนตร์สั้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย “ DigiCon 6 Asia Thailand 2024 ครั้งที่ 26”

SUIC celebrated its 20th anniversary by organizing a special event at True ICON Hall, Icon Siam, with His Excellency Jean-Claude Poimboeuf. Other VIPs present included the President of Silpakorn University, members of the Silpakorn University Council and special guests from Vatel Hotel & Tourism Business School, Birmingham City University, and Paris School of Business.

ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
– นักศึกษาและบุคลากรได้รับบริการด้านสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
– นักศึกษาและบุคลากรมีการรับรู้ เข้าใจอาการ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
– คณะจิตรกรรมฯ สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องได้ทันท่วงที

ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง จัดโครงการ “Library Talks : การอภิปราย เรื่อง เปิดโลก Generative AI กับห้องสมุด”ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-12.00 น.

ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ (SMART Ageing)” ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567
เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ รวมถึงรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพ

ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง จัดกิจกรรม 5 มิถุนายน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก เหล่า “พี่พร้อม” ร่วมมือร่วมใจปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว และจัดพื้นที่นั่งสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เตรียมต้อนรับน้อง ๆ นักศึกษาทั้งน้องเฟรชชี่ และพี่ชั้นปีต่าง ๆ ในช่วงเปิดเทอม

เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลกพี่ชวนกรีนวันแรก หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “พี่ชวนกรีน” เนื่องในวันที่ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 ณ บริเวณหน้าหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 โครงการค่ายดนตรีฤดูร้อน Silpakorn Summer Music School (SSMS) โดยความสนับสนุนจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 26 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567

ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการแบบบูรณาการศาสตร์และศิลป์ในงานวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้ไปเพิ่มขีดความสามารถการประกอบการ เพิ่มคุณค่า มูลค่าทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 1/2567 เรื่อง “สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลไม้อบแห้งแบบธรรมชาติและผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง เทรนด์เรื่องน้ำตาลหายากที่ไม่มีแคลอรี่ และการเสริมโพรไบโอติก”

สำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดโครงการศึกษาและวิเคราะห์สัณฐานย่านและโครงข่ายการสัญจรของ 4 ย่านสถานี และการศึกษาและออกแบบเส้นทางเดินเท้า จักรยาน ย่านสถานีสามยอด เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร เมืองเดินเท้าและจักรยานสัญจรเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและยั่งยืน พ.ศ. 2567-2575 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม – 25 ธันวาคม 2567

โครงการที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้พัฒนาทักษะทางด้านดนตรีแจ๊ส ทั้งในรูปแบบของ Workshop แต่ละเครื่องมือ (Major Instrument) และการเรียนรวมวง(Jazz Ensemble) โครงการนี้เป็นการเปิดโอกาสทุกคนที่สนใจ โดยไม่ว่าผู้เข้าโครงการจะเป็นนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักดนตรีเล่นอาชีพ บุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจดนตรีแจ๊ส

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 8.30 – 17.00 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ” มหาวิทยาลัยศิลปากรกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”

เมื่อวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2567 หอสมุดวังท่าพระ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานไม้สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประกอบองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากงาน “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ”

ในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนต่าง ๆ ได้แก่ ห้องเรียน พสวท.สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการวิจัยศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ทศวรรษ 2520 – 2560 โดยมีการจัดกิจกรรมที่ชื่อว่า Revitalizing Bangkok Through Art and Architecture: A Case Study on BIMA’s Vision of the City’s Future จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2567 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ หอศิลป พีระศรี , BANGKOK CITYCITY GALLERY, และ Doc Club ภายในงานมีการจัดกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ สัมมนา 3 หัวข้อ เกี่ยวกับการใช้งานศิลปะเพื่อขับเคลื่อนเมือง, นิทรรศการพิเศษ Revitalizing BIMA เพื่อฟื้นชีวิตให้แก่ หอศิลปะ พีระศรี  อีกครั้ง, walking tour, photo walk, และการฉายหนังสาคดีในประเด็นว่าด้วยศิลปะกับ Gentrification

ภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการในการสร้างสรรค์ผลงาน และร่วมจัดแสดงผลงานจิตรกรรม ของ นักศึกษา คณาจารย์ และศิลปินรับเชิญ จำนวน 100 ชิ้น ณ อุทยานแห่งชาติภูเรือ, ภูป่าเปาะ, และสวนหินผางาม เพื่อจัดแสดงผลงานจิตรกรรมถาวร ณ โรงพยาบาลอำเภอบางสะพุง จัวหวัดเลย ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการศึกษาดูงานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและวิถีชีวิตชาวประมง ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2567 เพื่อส่งเสริมและสร้างความรู้ทางด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและวิถีชีวิตชาวประมง

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67  โครงการ Green En-Tech โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (ยินดีให้บริการเปลี่ยนขยะเป็นของที่ระลึกสุดโดนใจ รับบริจาคตลอด) ส่งมายังภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการปันรักษ์ปลูกป่า ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567

ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ESG and Sustainable Finance” ภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development: WMS HUB) เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดำเนินนโยบาย “Digitalization of Teaching and Learning” เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการค่ายอาสาพัฒนา รปศ. ทอฝัน 2024 “The New Hope” เมื่อวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อวันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ กรุงเทพฯ โดยมีเนื้อหาหลักสูตรที่หลากหลาย อาทิ หลักสูตรด้านการเงินและการคลัง การประชุมสภาท้องถิ่น การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง การสืบสวนสอบสวนทางวินัย และอื่น ๆ โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ โดยประกอบด้วยหลักสูตรทั้งหมด 4 หลักสูตร

สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ศิลปกรรรมและวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตชุมชน ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความยั่งยืนของการจัดการขยะตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOUs) กับบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น บริษัท ไทยพลาสติก และ เคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)รวมถึงบริษัทด้านกระดาษ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยความร่วมมือนี้นำไปสู่การจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน

      กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา รวมทั้งลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการจัดโครงการต้นแบบธุรกิจการเกษตรเพื่อสังคม : ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรฟาร์มแพะแกะ 

 

สำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยอาจารย์ ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะ จัดงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ย่านพระนคร (Bangkok Design Week 2024) เมื่อวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ย่านพระนคร กรุงเทพมหานคร

คณะทำงานฯ โดยมี รศ.ดร.ปรีชญา, ผศ.ดร.ดรุณี, ผศ.ดร.ทยากร, อ.พงศธร, อ.ภารวี, อ.ดร.ธนเดช และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงอาคารให้แก่บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เพื่อให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานและมีความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมในการขยายกำลังการผลิตแอลกอฮอล์ โดยใช้ Crude Ethanol และการใช้วัตถุดิบจาก Cellulose เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 – 20 มิถุนายน 2567 เพื่อศึกษาแนวทางสำหรับการขยายกำลังการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ยา และอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.จงกล คำไล้ หัวหน้าโครงการ จัดโครงการกิจกรรมการออกแบบเครื่องมือและสำรวจมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่พิเศษ และ อพท. ผ่านช่องทาง Google Site

อาจารย์ ดร. วิภาช ภูริชานนท์ หัวหน้าโครงการ และคณะ จัดทำโครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยและการมีส่วนร่วมของสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 จนถึงทศวรรษ 2010 (ระยะที่ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโลกศิลปะไทยว่าเกี่ยวโยงกับหรืออยู่ภายใต้เครือข่ายความสัมพันธ์และเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองทั้งภายในบริบทของสังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการคัดสรรนิทรรศการกลุ่มในประเทศไทยและจากต่างประเทศที่มีศิลปินหรือภัณฑารักษ์ชาวไทยเข้าร่วมจำนวนกว่า 857 นิทรรศการ

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการจัดโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มสมรรถนะกลุ่มเกษตรกร และนักเรียนหลักสูตรเกษตรนวัตด้านการแปรรูปกล้วยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

ร่วมปล่อยปูม้ากับโครงการวิจัยส่งเสริมธนาคารปูม้าและการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ บริเวณเขาตะเกียบ หัวหิน

นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่สังคมที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ และ โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 66  โครงการ GREEN CAMPUS KICKSTART: STEP ONE TO SUSTAINABILITY  โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร

คณะอักษรศาสตร์ยังได้จัดโครงการเสวนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ สมุทรสงครามศึกษาเมืองแห่งสายน้ำทางปัญญา วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยสำหรับบุคลากรประจำปี 2566 โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจาก งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองชะอำ เป็นผู้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง พร้อมทั้งให้มีการฝึกซ้อมใช้อุปกรณ์ดับเพลิงกรณีการเกิดเพลิงใหม้ ฝึกซ้อมหนีไฟและซ้อมแผนอพยพ

มหัศจรรย์สวนท้องร่อง ชุมชนบางอ้อ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดย อาจารย์ภูมิ ภูติมหาตมะ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 เพื่อการรวบรวมองค์ความรู้เรื่องสวนท้องร่องในย่านบางอ้อและบางพลัด

ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการบูรณาการภาษาฝรั่งเศสกับศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการสร้างสรรค์ ณ ชุมชนอัมพวา และชุมชนบ้านท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 11-12 มีนาคม 2566

ณ คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดย ฝ่ายวิจัยและกิจการพิเศษ คณะโบราณคดี รุ่นที่ 1

ดยสาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ที่ได้จากประวัติศาสตร์บอกเล่า เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 32nd Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference”

โครงการ “สมุทรสงครามอยู่ดี” มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas)

ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (SUFIH) ดำเนินการจัดโครงการ “อบรมปฏิบัติการสอนทำเค้กคริสต์มาสเรดเวลเวท (Red velvet Christmas cake)” ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร อาคารศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 15 ชั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

เตรียมแก้วน้ำส่วนตัวของคุณให้พร้อม วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคมนี้ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราแจกเครื่องดื่มเย็น..เย็น..ฟรี กิจกรรมนี้ เราอยากให้ทุกคนร่วมกันลดการใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง (Single-use Plastic) และอยากส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ซ้ำ (Reuse)

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการ CEO Network มองภาพกว้าง สร้างวิสัยทัศน์ พบโอกาสทางธุรกิจ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน – 17 ธันวาคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและเปิดโอกาสในการต่อยอดความสำเร็จในธุรกิจ นอกโดยการสร้างองค์ความรู้ ทักษะที่ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจสู่ระดับสากล และเชื่อมโยงโอกาสในการเข้าสู่แหล่งทุน การร่วมลงทุน หรือการขยายธุรกิจต่อไป

โดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ในวันที่ 18-19 มีนาคม และ 1-2 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นการสำรวจ ถ่ายภาพ และจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และเอกสารโบราณ

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ร่วมกับ อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการ Tourism Business 2023 “พลิกฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวไทย” ประจำปี 2566

เพื่อนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการศึกษาในอนาคต วิทยากรโดยร้องศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรของสำนักดิจิทัลเทคโนโลยี บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร บุคลากรหน่วยงานอื่น รวมถึงบุคลากรบุคลากรภายนอกที่สนใจ

ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยผู้ช่วยศาสตรจารย์.ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วตา ลิ้มเฮง คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร หัวหน้าโครงการ และบริษัท อีเอส วิจัยและพัฒนา จำกัด ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยการใช้ครีมยีสต์ (Cream Yeast) จากเศษเหลือ ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งขาวแวนนาไม ในระดับห้องปฏิบัติการ ดำเนินการในวันที่ 10 พฤษภาคม – 9 กันยายน 2566

เมื่อวันที่ 15 – 17 และ 20 – 21 มีนาคม 2566 สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมแจกคูปองอาหารฟรีให้กับนักศึกษาเพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าอาหารในบริเวณตลาดนัดอินดี้ โรงอาหารสระแก้ว (Union) และโรงอาหารเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการอุดหนุนช่วยเหลือนักศึกษา ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยและมีโภชนาการ โดยนักศึกษาสามารถรับคูปองอาหารฟรีผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน SU Smart Plus ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม อาทิ  คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการรีไซเคิลขยะของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการขยะและวัสดุเหลือทิ้งอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเน้นการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยเฉพาะในด้านการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG 12)

มหาวิทยาลัยศิลปากรสนับสนุนทุนวิจัย โครงการวิจัย การสร้างฐานความรู้ของการสะสมซิลิกาในใบไผ่สู่การพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบการสกัดนาโนซิลิกาจากไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกระดับการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ คณะมัณฑนศิลป์ และนักวิจัยท้องถิ่นจากศาลเจ้าในพื้นที่เยาวราช

กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน (Workshop แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย) ในปี 2566

โครงการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการฝึกเชิงปฏิบัติการด้านอนุรักษ์งานศิลปกรรมและรวบรวมองค์ความรู้เชิงเอกสารด้านงานศิลปกรรมของไทยและการอนุรักษ์ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาออกแบบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ซ่อมแซมศิลปะ ตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

        สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีโครงการชวนคนไทยทุกคนทุกสิทธิการรักษา รับ “ยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย” สิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แล้ว รับบริการได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ลงทะเบียนใช้สิทธิผ่าน “แอปเป๋าตัง” ก่อนเข้ารับบริการที่ “หน่วยบริการในระบบ” ทั้ง คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรม ร้านยา หน่วยบริการปฐมภูมิ คลินิกการพยาบาล รพ.สต.

         ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุนข้อเข่าเสื้อมโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคความจำเสื่อม

กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ในปี 2565

สืบเนื่องจากการที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร ดำเนินการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx 300 และเพื่อเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ สำนักงานคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลในหมวดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 มีการกำหนดนโยบาย การกำหนดเป้าหมายการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมสำนักงานสีเขียว ณ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (ตึกเก่า) ประกอบด้วยอาคาร 4 ชั้น

ภายใต้โครงการจัดการความรู้ทางมานุษยวิทยาและองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ณ โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย อำเภอแกลง และโรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยองโดย ในวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2565

รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการถอดองค์ความรู้ผลงานหัตถศิลป์ภาคกลาง เพื่อการเผยแพร่ผลงานนิทรรศการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะและงานหัตถศิลป์ในพื้นที่ภาคกลาง และการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์งานศิลปะ เมื่อวันที่ 20 ต.ค. – 20 ธ.ค. 2565 เพื่อจัดทำนิทรรศการต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาและงานวิจัยในสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติด้วยตำรา

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ เช่น การติดตั้งระบบท่อระบายน้ำทิ้งและนำมารดน้ำต้นไม้ การติดตั้งระบบสูบน้ำและกรองเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ บริเวณอาคารทั้งหมดในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี รวมถึงมีการดำเนินโครงการพื้นที่บูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเส้นทางการเดินทาง ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ยในการออกแบบระบบระบายน้ำแบบเปิดสำหรับน้ำเสียจากอาคารต่าง ๆ เพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่บ่อบำบัดน้ำเสียตามกระบวนการทางธรรมชาติ ทั้งนี้สำนักงานวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจึงได้ติดตั้งระบบชลประทานที่ใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อที่ 3

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โครงการกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์งานศิลปกรรมประเภทผ้าใบโดยใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนอุดหนุนการทํากิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจําปีงบประมาณ 2564 ในส่วนแผนงานพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2564

โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี สานพลังความรู้-พลังพหุภาคีปลุกชีพจร “อัมพวา” รศ.ดร.เกรียงไกร  เกิดศิริ รองคณบดีคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยสมุทรสงครามอยู่ดี : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งมอบคุณค่าตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับสนับสนุนงบประมาณด้านการขับเคลื่อนภาคเกษตร จากสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาปรับใช้ผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ที่ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย รศ.อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ และทีมวิจัย ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ชื่อว่า “All-Rice1”

การบรรยายสาธารณะ (Library Talk และงานเสวนาต่าง ๆ
หอสมุดวังท่าพระ,หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์,หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี,หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร

การผลิตนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบวีดีทัศน์ด้านศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่ผ่านต่อสาธารณะผ่านช่องสื่อสังคมออนไลน์ YouTube Archaeovative Silpakorn และเว็บไซต์คณะโบราณคดี

ศูนย์บริการนักศึกษาผู้พิการ DSS SU เล็งเห็นถึงความสำคัญและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจึงประสงค์จัดโครงการอบรมภาษามือขั้นพื้นฐาน “ภาษามือ..สื่อรัก” เพื่อเป็นโครงการอบรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษามือขั้นพื้นฐานและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประกอบอาชีพระหว่างเรียนได้อย่างมีคุณค่ามากที่สุด

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ในการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าในอ่าวไทย โดยได้ดำเนินการโครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย”

อบรม เสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนและครูภายในพื้นที่อำเภอไพศาลี เพื่อส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ ชุมชนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ และเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชน

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการพัฒนานักศึกษาผู้ประกอบการ (Entrepreneurs Silpakorn) โดย
ได้จัดหาทุนสนับสนุนจากหลากหลายแหล่งทุน สำหรับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Innovative Startup) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการพัฒนานักศึกษาผู้ประกอบการ (Entrepreneurs Silpakorn) โดย
ได้จัดหาทุนสนับสนุนจากหลากหลายแหล่งทุน อาทิ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำหรับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Innovative Startup) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560

สร้างกระบวนการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาภาควิชามีความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยมาเผยแพร่ทางสาธารณะผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัล และการสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ผ่านการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของเล่นทางศิลปะ (Art Toy)

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานและคณะวิชามีการจัดกิจกรรม Job Fair เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษา ทั้งด้านความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ชีวิต และการวางตัวอย่างเหมาะสม

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.จงกล   คำไล้ หัวหน้าโครงการ จัดโครงการกิจกรรมการออกแบบและจัดทำเครื่องมือเชิงสถิติสำรวจและวิเคราะห์ภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ

กิจกรรมและสวัสดิการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระและเมืองทองธานี จัดกิจกรรมบริการรถรับส่ง SUMUV (SU x MoveMi) เพื่อส่งเสริมการใช้รถสาธารณะพลังงานสะอาด และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน โดยมีการบริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สนามหลวง – วังท่าพระ – สนามหลวง เส้นทางที่ 2 วังท่าพระ – MRT สนามไชย (Exit 1) ป้ายรถเมล์ Museum Siam – วังท่าพระ ช่วงเวลาให้บริการ แบ่งเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบเช้า (เวลา 7.00 – 10.00 น.) รอบกลางวัน (เวลา 12.00 – 14.00 น.) และรอบเย็น (เวลา 16.00 – 18.00 น.)

โครงการศึกษาดูงานครั้งนี้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้นํามหาวิทยาลัย Sunway และมหาวิทยาลัยประเทศไทย นอกจากนั้น SDSN Malaysia ได้แบ่งปันเกี่ยวกับโครงการต่างๆ เช่น Science Panel for Southeast Asia Biodiversity Protection, Mission 4.7, Asean Green Future, SDG Academy, poverty eradication และ designing institutions for good governance