โครงการ 3R (ลดการใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิล) สำหรับการจัดการขยะในมหาวิทยาลัย
     มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความยั่งยืนของการจัดการขยะตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOUs) กับบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น บริษัท ไทยพลาสติก และ เคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงบริษัทด้านกระดาษ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยความร่วมมือนี้นำไปสู่การจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยได้กมีการจัดกิจกรรมแลกขวดพลาสติกและกระดาษใช้แล้ว เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรีไซเคิลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดำเนินมาตรการสำคัญหลายประการในการปรับปรุงการจัดการขยะ เช่น การส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ภาชนะอาหารและน้ำส่วนตัว การแนะนำถังขยะแยกสีเพื่อการจัดการขยะแบบแยกประเภท และการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ร้านค้าภายในมหาวิทยาลัยยังมอบส่วนลดให้นักศึกษาที่นำภาชนะมาเอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำไปปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรม
     มหาวิทยาลัยยังได้มีการผลิตน้ำดื่มตราของมหาวิทยาลัย โดยออกแบบให้ใช้ปริมาณพลาสติกน้อยกว่ายี่ห้อทั่วไปตามท้องตลาด และกำลังอยู่ในกระบวนการขอรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก มหาวิทยาลัยใช้แก้วที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งผลิตจาก Bio Polybutylene Succinate (PBS) ซึ่งสามารถย่อยสลายและเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การจัดการขยะของมหาวิทยาลัยได้รับการจัดการตามประเภทขยะในทั้งสองวิทยาเขต โดยโครงการ 3R ของมหาวิทยาลัย พบว่าได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและผลการประเมินพบว่ามีอัตราความสำเร็จของโครงการมากกว่า 75%

ประกาศจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการจัดการขยะ

ภาพกิจกรรมเชิญชวนการรีไซเคิลพลาสติก
ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/vgADh5BwB6CsFxRW/ 
https://www.facebook.com/profile.php?id=61556067579806

ภาพกิจกรรมการปลูกฝังความตระหนักรู้ในนักศึกษา
ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=476595145011331&set=pcb.476607055010140

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

ภาพ : การส่งเสริมการแยกแก้ว Bio PBS (Polybutylene succinate) และใบไม้เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำปุ๋ยหมักสำหรับบำรุงต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย