สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน​

(Ensure sustainable consumption and production patterns)​

 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ประกาศนโยบายขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมโครงการอบรมจากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย รวมถึงคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ให้นำแก้วส่วนตัวมาใช้แทนแก้วพลาสติกหรือแก้วใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมลอยกระทง “หวนถิ่น กลิ่นจัน สืบสรรค์ วันลอยกระทง ทับแก้ว”

เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง โดยสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายประสานงานสถาบันการศึกษา 35 แห่งใน 11 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ นครนายก และกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) ได้ประกาศนโยบายสำคัญเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร มุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อให้ได้รับมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว โดยมีการนำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้เพื่อให้การคัดแยกขยะในสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง โดยมีการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันช่วยจำแนกประเภทขยะจากรูปภาพ ด้วยการใช้ขั้นตอนวิธีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) และโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Networks) ที่ช่วยในการจำแนกประเภทของขยะจากภาพถ่ายได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งช่วยลดความสับสนในการระบุประเภทของขยะและวิธีการจัดการที่ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ Green Entech Green Campus ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ภายในงานมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการขยะ ความสำคัญของการแยกขยะ และการรีไซเคิลขวดน้ำดื่ม หรือ PET (Polyethylene Terephthalate) เพื่อช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากนักศึกษาและบุคลากรเป็นอย่างมาก โดยสามารถรวบรวมขวด PET และพลาสติกใสยืดได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ต่อไป

มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ

  • ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรม หน่วยวิจัย Renew Reborn ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นำโดยรองอธิบดี ร.ต.อ. วิษณุ ฉิมตระกูล และคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) รับมอบฝาขวดพลาสติกจำนวน 60,000 ฝา เพื่อใช้ในงานวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ได้รับเกียรติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (NIA) เดินทางมาเยี่ยมชมการดำเนินงานของหน่วยวิจัย Renew Reborn พร้อมทั้งนำฝาขวดพลาสติกมาบริจาคเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากฝาขวดพลาสติก โดยทางหน่วยวิจัยได้จัดให้ผู้เยี่ยมชมได้มีส่วนร่วมในการผลิตของที่ระลึกจากฝาขวด ซึ่งสร้างความประทับใจและความสนุกสนานแก่ทุกท่าน

คณะอักษรศาสตร์ จัดกิจกรรม SDGs-5R บูรณาการและสร้างสรรค์ของชาวอักษรศาสตร์ โดยมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการขยะ โดย คุณวิสิทธิ์ ตออำนวย และ คุณจิรศักดิ์ แก้วเจริญ นอกจากนี้ ยังมีการประกวดดาวเดือน “ดาวเดือน SDGs  : 5R lifestyle on campus and Social Media”

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านภาษา สังคม และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีนักศึกษาจากคณะวิทยาการจัดการ และนักศึกษาต่างชาติจาก University Brunei Darussalam ประเทศบรูไน เข้าเยี่ยมชมตลาดโอ๊ะป่อย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “Open House Wizard Day” กิจกรรมเปิดบ้านหอสมุด วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2567 โดยภายในงานได้จัดกิจกรรมส่งเสริม การใช้บริการของหอสมุดและกิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม
“พี่ชวนกรีน” ภายใต้ชื่อฐานความรู้ “Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”)
ซึ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการของเสียและมลพิษ

เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลกพี่ชวนกรีนวันแรก หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “พี่ชวนกรีน” เนื่องในวันที่ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 ณ บริเวณหน้าหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67  โครงการ Green En-Tech โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (ยินดีให้บริการเปลี่ยนขยะเป็นของที่ระลึกสุดโดนใจ รับบริจาคตลอด) ส่งมายังภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงได้มีการประกาศใช้นโยบายการจัดการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ศิลปกรรรมและวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตชุมชน ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2567 รายการ Green Report ซึ่งออกอากาศทางช่อง 7สี ได้เดินทางมาถ่ายทำผลิตภัณฑ์และกระบวนการอัพไซเคิลฝาขวดพลาสติก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังก์ศิริ ทิพยารมณ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงที่มาของโครงการ Upcycling – Renew Reborn ชุบชีวิตฝาขวดพลาสติกให้กลายของใหม่สไตล์พรมแดง

โครงการรีไซเคิลขยะของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการขยะและวัสดุเหลือทิ้งอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเน้นการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยเฉพาะในด้านการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG 12)

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการพัฒนานวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภนนท์ หอมสุดนำนักศึกษาต่างชาติจากหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ

ประเภทของขยะในมหาวิทยาลัยศิลปากร

ในปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีปริมาณขยะรวม 669.94 ตัน ประกอบด้วยขยะส่งกำจัด รวม 265.80 ตัน โดยรถบรรทุกขยะของเทศบาลนครนครปฐมจะเข้ามาจัดเก็บขยะที่จุดพักขยะสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดหรือรีไซเคิลในสถานที่ที่เทศบาลนครปฐมจัดเตรียมไว้ และขยะอินทรีย์จำนวน 404.14 ตัน

ธนาคารขยะจัดตั้งบริการเพื่อต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการรับษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าตามหลัก BCG Economy Modelโดยในธนคารขยะมีการเปิดทำการ 5 วันต่อสัปดาห์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น.

สืบเนื่องจากการที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร ดำเนินการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx 300 และเพื่อเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ สำนักงานคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลในหมวดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 มีการกำหนดนโยบาย การกำหนดเป้าหมายการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมสำนักงานสีเขียว ณ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (ตึกเก่า) ประกอบด้วยอาคาร 4 ชั้น

มูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ ร่วมกับมูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า และ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation”บทสนทนาเชิงประสบการณ์ของผู้อาศัยและเติบโตในเมืองฮิโรชิม่า ในสองช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงเมืองที่แตกต่างกัน

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 66  โครงการ GREEN CAMPUS KICKSTART: STEP ONE TO SUSTAINABILITY  โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร

การประชุมหารือโครงการ การพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สำเนียงงาม รองอธิการบดีพระราชวังสนามจันทร์ เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงาน คณะวิชา ร่วมการประชุม

เตรียมแก้วน้ำส่วนตัวของคุณให้พร้อม วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคมนี้ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราแจกเครื่องดื่มเย็น..เย็น..ฟรี กิจกรรมนี้ เราอยากให้ทุกคนร่วมกันลดการใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง (Single-use Plastic) และอยากส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ซ้ำ (Reuse)

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปัจจุบันมีกำลังผลิตประมาณ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งสามารถรองรับประชากรของวิทยาเขตได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ประสานให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลทำการขุดเจาะและติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 5 บ่อ เป็นการสำรองน้ำไว้ใช้กรณีน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองจิกขาดแคลน โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีมีระบบบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการธรรมชาติ

ตัดหญ้าภายในสนามสวนหย่อมเก็บกวาดใบไม้เพื่อความสะอาดเรียบร้อยและนำไปทิ้งภายนอกมหาวิทยาลัยซึ่งใบไม้กิ่งไม้และเศษหญ้าเหล่านั้น จัดเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมกระบวนการทางธรรมชาติแต่ต้องใช้ระยะเวลานาน

มหาวิทยาลัยศิลปากรส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยส่งเสริมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดความรู้สำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ในปี 2563

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการเรื่อง “นวัตกรรมการใช้ดินสังเคราะห์วัสดุชีวภาพเพื่อสร้างสรรค์เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ออกแบบอันแสดงออกถึงรากเหง้าแห่งความศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์”

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มีการจัดโครงการ “การพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย : Greenery Market @ SU” โดยให้ผู้ขายสินค้าในท้องถิ่นสามารถนำอาหารมาขายในรูปแบบของตลาดสีเขียว (Greenery Market) ภายในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนดให้

ในปี 2562 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการสนับสนุนการผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม Bio PBS (Polybutylene succinate) กับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความยั่งยืนของการจัดการขยะตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOUs) กับบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น บริษัท ไทยพลาสติก และ เคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)รวมถึงบริษัทด้านกระดาษ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยความร่วมมือนี้นำไปสู่การจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน