ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

(Promote sustained, inclusive and sustainable economic growth, full and productive employment and decent work for all)

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 งานกิจการนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ (พื้นที่การศึกษาบางรัก) ได้จัดกิจกรรมโครงการ “Empowering the Next Generation of Innovators” เพื่อส่งเสริมความรู้และเปิดมุมมองด้านนวัตกรรมทางธุรกิจสำหรับอนาคตให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นเวทีประกวดศิลปะระดับชาติที่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้แสดงออกทางศิลปะ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานด้านศิลปกรรมสู่สาธารณชนในระดับชาติ นอกจากการเป็นเวทีให้แก่ศิลปินมืออาชีพแล้ว การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจศิลปะให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่จัดแสดง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีโอกาสต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจากทั้งภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้ด้านศิลปะ ณ Visible Storage Gallery ของคลังสะสมศิลปกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้น 2 หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายสาขาวิชา อาทิ นักศึกษารายวิชาบันทึกธรรมชาติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการอบรมป้องกันอัคคีภัยประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและการรับมือกับอัคคีภัยแก่บุคลากรและนักศึกษา โดยอาจารย์เอกชัย ภูมิระรื่น รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและพันธกิจเพื่อสังคม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งกล่าวถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเน้นย้ำให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการศึกษาและการจัดการศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาชีพครูในบริบทของการศึกษาศิลปะ โรงเรียนรุ่งอรุณเป็นสถาบันการศึกษาที่มีแนวทางการสอนศิลปะที่โดดเด่น เน้นการบูรณาการศิลปะเข้ากับการเรียนรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร จัดโครงการสัมมนา การนำเสนอผลการสร้างนวัตกรรมทางจิตวิทยา

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต กิจกรรมครั้งนี้เป็นการทดสอบตลาดและส่งเสริมช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นของฝากของที่ระลึก กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค. – 19 ก.ย.2567

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 – 7 ก.ย. 2567

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP และกิจกรรมจ้างเหมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2567 – 1 ก.ย. 2567

อาจารย์ ดร.ธีวินท์ นฤนาท สาขาวิชาการจัดการงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโต กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นของฝากของที่ระลึก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. – 31 ส.ค. 2567

ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการแบบบูรณาการศาสตร์และศิลป์ในงานวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้ไปเพิ่มขีดความสามารถการประกอบการ เพิ่มคุณค่า มูลค่าทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 1/2567 เรื่อง “สูตรและกรรมวิธีการผลิตผลไม้อบแห้งแบบธรรมชาติและผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง เทรนด์เรื่องน้ำตาลหายากที่ไม่มีแคลอรี่ และการเสริมโพรไบโอติก”

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ D CEO Network 2 : D CEO Driven ESG ภายใต้โครงการ D CEO NETWORK รุ่น 2 : D CEO Driven ESG ขับเคลื่อนเครือข่ายผู้บริหารระดับสูง ส่งเสริมการเติบโตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 2 ประจำปี 2567

“โฮมเสตย์บ้านถ้ำเสือ” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชน และกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ โดยพยายามสร้างชุดความรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมศูนย์ในประเด็นซีโร่คาร์บอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปช่วยดำเนินการในการพัฒนาแบรนด์และหาวิธีสื่อสารประเด็นซีโร่คาร์บอนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นจากพื้นที่เมืองนอกเขตจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขยายฐานความรู้ให้กว้างขึ้นกว่าการจำกัดแค่ในพื้นที่จ. เพชรบุรี

“ไร่เพชรมาลัยกุล” สถานที่ท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตรที่ดำเนินกิจการด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้การทำเกษตรยั่งยืน และการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริ เช่น การปลูกป่า 5 ระดับ การจัดการคาร์บอนเครดิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและออกแบบจัดทำโบรชัวร์เพื่อการประชาสัมพันธ์

“โตนดคราฟท์” นวัตกรรมเครื่องคราฟต์โซดาที่นำน้ำตาลสด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี นำมาทำเป็นเครื่องดื่มเสนอขายพร้อมการประชาสัมพันธ์น้ำตาลโตนดซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักหรือวัตถุดิบขึ้นชื่อที่สำคัญของคนเพชรบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทำวิดีโอเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ที่กว้างขึ้นให้กับคุณค่าของน้ำตาลโตนด

สรุปการประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการเทศกาลตลาดดอกไม้กรุงเทพ 2567: ฉัน_ดอกไม้_คุณ” (I Flower You: Bangkok Flower Market Festival 2024) ตาม ตัวชี้วัดเชิงปริมาณพบว่า 1) มีผู้ร่วมงานทั้งหมด 37,639 คน-ครั้ง (สูงกว่าค่าเป้าหมาย) และ จำนวน engagement แบบ online มากกว่า 200,000 ครั้ง

ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (SUFIH) ดำเนินการจัดโครงการ “อบรมปฏิบัติการสอนทำเค้กคริสต์มาสเรดเวลเวท (Red velvet Christmas cake)” ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร อาคารศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 15 ชั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Mythophobia “ผีอาเซียน” จากจักรวาลผีสู่จักรวาลนฤมิต (Metaverse of ASEAN Ghosts) นับเป็นโมเดลเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ขอเชิญชวนทุกท่านมาท่องโลกกับ “Mythophobia”

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการ CEO Network มองภาพกว้าง สร้างวิสัยทัศน์ พบโอกาสทางธุรกิจ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน – 17 ธันวาคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและเปิดโอกาสในการต่อยอดความสำเร็จในธุรกิจ นอกโดยการสร้างองค์ความรู้ ทักษะที่ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจสู่ระดับสากล และเชื่อมโยงโอกาสในการเข้าสู่แหล่งทุน การร่วมลงทุน หรือการขยายธุรกิจต่อไป

สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วตา ลิ้มเฮง คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร หัวหน้าโครงการ และบริษัท อีเอส วิจัยและพัฒนา จำกัด ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยการใช้ครีมยีสต์ (Cream Yeast) จากเศษเหลือ ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งขาวแวนนาไม ในระดับห้องปฏิบัติการ ดำเนินการในวันที่ 10 พฤษภาคม – 9 กันยายน 2566

มีการจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานอย่างถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน และมีการขึ้นเงินเดือนตามรอบการขึ้นเงินเดือนโดยประเมินตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคลอย่างเป็นธรรม

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานและคณะวิชามีการจัดกิจกรรม Job Fair เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษา ทั้งด้านความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ชีวิต และการวางตัวอย่างเหมาะสม

โครงการ “สมุทรสงครามอยู่ดี” มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas)

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มีการจัดโครงการ “การพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย : Greenery Market @ SU” โดยให้ผู้ขายสินค้าในท้องถิ่นสามารถนำอาหารมาขายในรูปแบบของตลาดสีเขียว (Greenery Market) ภายในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนดให้

มหาวิทยาลัยศิลปากรมีการรับสมัครงานผ่านระบบ “ระบบรับสมัครงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร”
เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถเลือกอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่สนใจสมัครงานผ่านทางเว็บไซต์ https://job.su.ac.th/ โดยระบบดังกล่าวสามารถเข้าถึงและใช้งานง่าย ผู้สนใจสามารถค้นหางานที่สอดคล้องกับทักษะและความสนใจของผู้เข้าใช้งานได้

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยการใช้สื่อดิจิทัลช่วยลดปัญหาด้านการสื่อสารภายในองค์กร สนับสนุนการทำงานร่วมกันในทีม และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน การส่งเสริมให้บุคลากรใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ