ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ

(Take urgent action to combat climate change and its impactsa)

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความมุ่งมั่นในการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมเข้ากับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและสืบสานประเพณีไทยในรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกในปัจจุบัน ได้จัดกิจกรรมประกวดชุดแฟนตาซีรีไซเคิลภายใต้โครงการประเพณีไทยสืบสาน สงกรานต์สนามจันทร์ ประจำปี พ.ศ. 2568

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ Green Entech Green Campus ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ภายในงานมีการให้ความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ และความสำคัญของการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากนักศึกษาและบุคลากรเป็นอย่างมาก โดยสามารถรวบรวมขวด PET และพลาสติกใสยืดได้มากกว่า 1,400 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ต่อไป

คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9”

เมื่อวันที่ 8 – 9 มีนาคม 2568 คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9” ณ อุทยานแห่งชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักรู้ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)  

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์” ครั้งที่ 17 มหกรรมหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ระหว่าง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 20.30 น. ณ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดโอกาสให้ประชาคมศิลปากรและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ในหลากหลายแขนง ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ภายใต้แนวคิด “Borderless Knowledge” หรือ “สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต”

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จัดกิจกรรม SANAM SMALL GREEN ภายในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 17 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย SU Green Library ผ่านกิจกรรมรักษ์โลกทั้ง 4 กิจกรรม

มหกรรมหนังสือสื่อสร้างสรรค์ CreativeMatters & Art Book Fair 2025 ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้แนวคิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และการออกแบบ พร้อมกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายหนังสือ งานศิลปะ อาหาร และกิจกรรมที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในทุกกิจกรรมมีการสอดแทรกแนวคิดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

 วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30-15.00 น. องค์กรวิจัยด้านการเกษตรและอาหารแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น (The National Agriculture and Food Research Organization – NARO) ร่วมกับมหาวิทยาลัยริทสึเมคัง (Ritsumeikan University) ประเทศญี่ปุ่น โดยมี Dr. Yasuyuki Okimori และ Ms. Minako Doi เป็นผู้นำคณะ ได้ขอสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิกร ศรีภิรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และหน่วยวิจัยก๊าซเรือนกระจกเพื่อความยั่งยืน (Greenhouse Gas Research Unit for Sustainability – GGUS) มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sustainable University Network of Thailand – SUN Thailand) ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยพะเยา

ในวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ พร้อมด้วยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าร่วมโครงการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อช่วย “ลด” และ “ชดเชย” (lower & offset) การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง เครือข่ายC-อพ.สธ. ภาคกลางตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.ราชบุรี

เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้จัดอบรมในหลักสูตร การประเมินคาร์บอนฟุต
พริ้นท์ขององค์กร ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีการให้ข้อมูลที่ครอบคลุมตั้งแต่ภาพรวมการจัดทำ CFO (Carbon Footprint of Organization) วิธีการเก็บข้อมูล การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้กับผู้เข้าร่วมอบรม

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ตัวแทนคณาจารย์ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมงานสัมมนาหัวข้อ SUSTAINABLE TRAVEL: THE WORLD’S TRENDY CARBON NEUTRAL HOTELS

มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ

  • ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ “การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความรู้ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก” ระหว่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดย สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรม หน่วยวิจัย Renew Reborn ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นำโดยรองอธิบดี ร.ต.อ. วิษณุ ฉิมตระกูล และคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) รับมอบฝาขวดพลาสติกจำนวน 60,000 ฝา เพื่อใช้ในงานวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ได้รับเกียรติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (NIA) เดินทางมาเยี่ยมชมการดำเนินงานของหน่วยวิจัย Renew Reborn พร้อมทั้งนำฝาขวดพลาสติกมาบริจาคเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากฝาขวดพลาสติก โดยทางหน่วยวิจัยได้จัดให้ผู้เยี่ยมชมได้มีส่วนร่วมในการผลิตของที่ระลึกจากฝาขวด ซึ่งสร้างความประทับใจและความสนุกสนานแก่ทุกท่าน

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะบริเวณชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเทศกิจ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “Open House Wizard Day” กิจกรรมเปิดบ้านหอสมุด
วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2567 โดยภายในงานได้จัดกิจกรรมส่งเสริม
การใช้บริการของหอสมุดและกิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรม
“พี่ชวนกรีน” ภายใต้ชื่อฐานความรู้ “Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”)
ซึ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการของเสียและมลพิษ

ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง จัดกิจกรรม 5 มิถุนายน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก เหล่า “พี่พร้อม” ร่วมมือร่วมใจปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว และจัดพื้นที่นั่งสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เตรียมต้อนรับน้อง ๆ นักศึกษาทั้งน้องเฟรชชี่ และพี่ชั้นปีต่าง ๆ ในช่วงเปิดเทอม

เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลกพี่ชวนกรีนวันแรก หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “พี่ชวนกรีน” เนื่องในวันที่ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 ณ บริเวณหน้าหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการปันรักษ์ปลูกป่า ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567

“โฮมเสตย์บ้านถ้ำเสือ” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ วิถีชุมชน และกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ โดยพยายามสร้างชุดความรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมศูนย์ในประเด็นซีโร่คาร์บอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปช่วยดำเนินการในการพัฒนาแบรนด์และหาวิธีสื่อสารประเด็นซีโร่คาร์บอนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นจากพื้นที่เมืองนอกเขตจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขยายฐานความรู้ให้กว้างขึ้นกว่าการจำกัดแค่ในพื้นที่จ. เพชรบุรี

“ไร่เพชรมาลัยกุล” สถานที่ท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตรที่ดำเนินกิจการด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้การทำเกษตรยั่งยืน และการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริ เช่น การปลูกป่า 5 ระดับ การจัดการคาร์บอนเครดิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าไปมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและออกแบบจัดทำโบรชัวร์เพื่อการประชาสัมพันธ์

“โตนดคราฟท์” นวัตกรรมเครื่องคราฟต์โซดาที่นำน้ำตาลสด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี นำมาทำเป็นเครื่องดื่มเสนอขายพร้อมการประชาสัมพันธ์น้ำตาลโตนดซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักหรือวัตถุดิบขึ้นชื่อที่สำคัญของคนเพชรบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปมีส่วนร่วมในการถ่ายทำวิดีโอเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ที่กว้างขึ้นให้กับคุณค่าของน้ำตาลโตนด

คณะทำงานฯ โดยมี รศ.ดร.ปรีชญา, ผศ.ดร.ดรุณี, ผศ.ดร.ทยากร, อ.พงศธร, อ.ภารวี, อ.ดร.ธนเดช และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงอาคารให้แก่บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เพื่อให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานและมีความยั่งยืน

รศ. ดร. ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ พร้อมนักศึกษาสาชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ อีก 3 คน ได้แก่ น.ส.ต้องตา จินตกสิกรรม น.ส.ปิยธิดา ทองเกลี้ยง และ น.ส.พัชรพร ขันต๊ะ  ได้รับเชิญจากสถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อเข้าร่วม Climate Talk Workshop on “Energy Storage Technologies including Hydrogen”

คณะเภสัชศาสตร์ ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการติดตั้งกังหันตีน้ำบริเวณบ่อน้ำข้างห้องสมุดคณะ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายสารอินทรีย์ และทำให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบ่อน้ำอยู่รอด นับเป็นการบำบัดน้ำเน่าเสียเพื่อลดปัญหามลภาวะทางน้ำ

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (ยินดีให้บริการเปลี่ยนขยะเป็นของที่ระลึกสุดโดนใจ รับบริจาคตลอด) ส่งมายังภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดให้บริการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเเละผลิตภัณฑ์”

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2567 รายการ Green Report ซึ่งออกอากาศทางช่อง 7สี ได้เดินทางมาถ่ายทำผลิตภัณฑ์และกระบวนการอัพไซเคิลฝาขวดพลาสติก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังก์ศิริ ทิพยารมณ์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงที่มาของโครงการ Upcycling – Renew Reborn ชุบชีวิตฝาขวดพลาสติกให้กลายของใหม่สไตล์พรมแดง

มหาวิทยาลัยศิลปากรมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันสร้างสรรค์ชั้นนำที่มุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ภารกิจของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นรวมถึงในระดับชาติผ่านการใช้นวัตกรรม ดังนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้จัดตั้ง SU Innovation (SU-Inno) ในปี 2563

โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์จากข้อมูลการเกิดไฟป่าทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบันในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบ่งให้เห็นว่ามีการจำนวนการเกิดไฟป่าสูง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2563

มหาวิทยาลัยศิลปากรส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยส่งเสริมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดความรู้สำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ในปี 2563

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนโดยลดการใช้พลังงานคาร์บอนสูง ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Shuttle Bus) เพื่อรับ-ส่ง นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างค่านิยมในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรและอุบัติเหตุบนถนนมาอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตั้ง Solar rooftop เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในหน่วย

มหาวิทยาลัยศิลปากรสนับสนุนทุนวิจัย โครงการวิจัย การสร้างฐานความรู้ของการสะสมซิลิกาในใบไผ่สู่การพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบการสกัดนาโนซิลิกาจากไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกระดับการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและพลังงานได้มีการกำหนดมาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน

คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ คณะมัณฑนศิลป์ และนักวิจัยท้องถิ่นจากศาลเจ้าในพื้นที่เยาวราช

ต่อยอดความรู้ทางด้านการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม ตอบโจทย์ #วัยทำงาน หรือจะ #สะสมหน่วยกิต เพื่อเรียนต่อ ด้วยรายวิชาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร 

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โครงการอบรม Go Go SU GREEN LIBRARY,โครงการอบรมการให้ความรู้เรื่องการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม,GREEN ENTECH GREEN CAMPUS,“พี่ชวนกรีน” เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลก