ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

(Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable)

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดให้บริการห้องพยาบาลส่วนขยายเพิ่มเติม ณ ชั้น 1 อาคารหอพักเพชรรัตน 2 ภายในเขตหอพักนักศึกษา พระราชวังสนามจันทร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรองรับการดูแลสุขภาพของนักศึกษาหอพัก โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยสภาคณาจารย์ และคณะผู้บริหาร ร่วมเป็นสักขีพยานในโอกาสสำคัญนี้

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นเวทีประกวดศิลปะระดับชาติที่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้แสดงออกทางศิลปะ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานด้านศิลปกรรมสู่สาธารณชนในระดับชาติ นอกจากการเป็นเวทีให้แก่ศิลปินมืออาชีพแล้ว การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจศิลปะให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่จัดแสดง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีโอกาสต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจากทั้งภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงสถาบันการศึกษาทั่วประเทศเข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้ด้านศิลปะ ณ Visible Storage Gallery ของคลังสะสมศิลปกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้น 2 หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายสาขาวิชา อาทิ นักศึกษารายวิชาบันทึกธรรมชาติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครปฐม จัดนิทรรศการแสดงผลงาน “ศึกษาศาสตร์” สร้างสรรค์ศิลป์ศาสตร์ยั่งยืน เพื่อชุมชนวัฒนา “๑ ภาควิชา ๑ ชุมชน”

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมลอยกระทง “หวนถิ่น กลิ่นจัน สืบสรรค์ วันลอยกระทง ทับแก้ว”

ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการศึกษาและการจัดการศึกษา ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาชีพครูในบริบทของการศึกษาศิลปะ โรงเรียนรุ่งอรุณเป็นสถาบันการศึกษาที่มีแนวทางการสอนศิลปะที่โดดเด่น เน้นการบูรณาการศิลปะเข้ากับการเรียนรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ที่ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ด้านศิลปะไทยให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นที่วัดไชยวัฒนาราม วัดเชิงท่า และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ

  • ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 23 จัดแสดงงานศิลปะและเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมฟรี ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 วันจันทร์ – เสาร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ) ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ได้ลงนามในสัญญาระหว่างบริษัท โกโก ทรานส์เทค จำกัด เพื่อเปิดพื้นที่ในวิทยาเขตฯ สำหรับให้บริการรถจักรยานไฟฟ้า จำนวน 25 จุด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 จำนวน 140 คัน ณ จุดจอด 25 แห่งภายในพื้นที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการโดยมีการประชาสัมพันธ์การใช้งานให้กับผู้สนใจ นักศึกษา บุคลากร ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 6 กันยายน 2567 ณ ด้านหน้าโรงอาหารกลาง หน้าอาคารกิจกรรมฯ และหน้า 7-eleven และมีการเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าใช้บริการรถจักรยานไฟฟ้าได้ผ่านแอปพลิเคชัน GOGO BIKE

การจัดโครงการนี้ฯ เป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของคณะจิตรกรรมฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาศิลปะที่มีศักยภาพและความสำคัญระดับนานาชาติ และเพื่อเชิดชูเกียรติและเปิดตัวหนังสือ เพื่อผลิดอกและออกใบ: หนังสือรวมบทความคัดสรรด้านศิลปะ และการศึกษาของสมพร รอดบุญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2557

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านภาษา สังคม และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีนักศึกษาจากคณะวิทยาการจัดการ และนักศึกษาต่างชาติจาก University Brunei Darussalam ประเทศบรูไน เข้าเยี่ยมชมตลาดโอ๊ะป่อย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

สำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดโครงการศึกษาและวิเคราะห์สัณฐานย่านและโครงข่ายการสัญจรของ 4 ย่านสถานี และการศึกษาและออกแบบเส้นทางเดินเท้า จักรยาน ย่านสถานีสามยอด เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร เมืองเดินเท้าและจักรยานสัญจรเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและยั่งยืน พ.ศ. 2567-2575 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม – 25 ธันวาคม 2567

เมื่อวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2567 หอสมุดวังท่าพระ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานไม้สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประกอบองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากงาน “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ”

ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการวิจัยศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ทศวรรษ 2520 – 2560 โดยมีการจัดกิจกรรมที่ชื่อว่า Revitalizing Bangkok Through Art and Architecture: A Case Study on BIMA’s Vision of the City’s Future จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2567 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ หอศิลป พีระศรี , BANGKOK CITYCITY GALLERY, และ Doc Club ภายในงานมีการจัดกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ สัมมนา 3 หัวข้อ เกี่ยวกับการใช้งานศิลปะเพื่อขับเคลื่อนเมือง, นิทรรศการพิเศษ Revitalizing BIMA เพื่อฟื้นชีวิตให้แก่ หอศิลปะ พีระศรี  อีกครั้ง, walking tour, photo walk, และการฉายหนังสาคดีในประเด็นว่าด้วยศิลปะกับ Gentrification

ภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการในการสร้างสรรค์ผลงาน และร่วมจัดแสดงผลงานจิตรกรรม ของ นักศึกษา คณาจารย์ และศิลปินรับเชิญ จำนวน 100 ชิ้น ณ อุทยานแห่งชาติภูเรือ, ภูป่าเปาะ, และสวนหินผางาม เพื่อจัดแสดงผลงานจิตรกรรมถาวร ณ โรงพยาบาลอำเภอบางสะพุง จัวหวัดเลย ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (เป้าหมายที่ 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) โดยดำเนินโครงการอนุรักษ์ภาพถ่ายจดหมายเหตุ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ภาพถ่ายและแนวปฏิบัติในการจัดการคลังภาพให้แก่บุคลากร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดำเนินนโยบาย “Digitalization of Teaching and Learning” เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาเข้าสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความสำคัญกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยการใช้สื่อดิจิทัลช่วยลดปัญหาด้านการสื่อสารภายในองค์กร สนับสนุนการทำงานร่วมกันในทีม และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน การส่งเสริมให้บุคลากรใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรม “Phetchaburi Folk Festival: สานศิลป์ถิ่นมหานคร ครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 ณ อาคารกิจกรรมและนันทนาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เพื่อส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของไทย เสริมสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกของชาติ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรม “Bang Rak Folk Festival: สานศิลป์ถิ่นมหานคร ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ ลานหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง พื้นที่การศึกษา บางรัก กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของไทย เสริมสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกของชาติ

สำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยอาจารย์ ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะ จัดงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ย่านพระนคร (Bangkok Design Week 2024) เมื่อวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ย่านพระนคร กรุงเทพมหานคร

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.จงกล คำไล้ หัวหน้าโครงการ จัดโครงการกิจกรรมการออกแบบเครื่องมือและสำรวจมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่พิเศษ และ อพท. ผ่านช่องทาง Google Site

อาจารย์ ดร. วิภาช ภูริชานนท์ หัวหน้าโครงการ และคณะ จัดทำโครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยและการมีส่วนร่วมของสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 จนถึงทศวรรษ 2010 (ระยะที่ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโลกศิลปะไทยว่าเกี่ยวโยงกับหรืออยู่ภายใต้เครือข่ายความสัมพันธ์และเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองทั้งภายในบริบทของสังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการคัดสรรนิทรรศการกลุ่มในประเทศไทยและจากต่างประเทศที่มีศิลปินหรือภัณฑารักษ์ชาวไทยเข้าร่วมจำนวนกว่า 857 นิทรรศการ

มูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ ร่วมกับมูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า และ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation”บทสนทนาเชิงประสบการณ์ของผู้อาศัยและเติบโตในเมืองฮิโรชิม่า ในสองช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงเมืองที่แตกต่างกัน

หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดนิทรรศการ “ 100 ปี ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล”

ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2566

ณ หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อบรม เสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนและครูภายในพื้นที่อำเภอไพศาลี เพื่อส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ ชุมชนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ และเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชน

การผลิตนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบวีดีทัศน์ด้านศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่ผ่านต่อสาธารณะผ่านช่องสื่อสังคมออนไลน์ YouTube Archaeovative Silpakorn และเว็บไซต์คณะโบราณคดี

ต่อยอดความรู้ทางด้านการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม ตอบโจทย์ #วัยทำงาน หรือจะ #สะสมหน่วยกิต เพื่อเรียนต่อ ด้วยรายวิชาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร 

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยสำหรับบุคลากรประจำปี 2566 โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจาก งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองชะอำ เป็นผู้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง พร้อมทั้งให้มีการฝึกซ้อมใช้อุปกรณ์ดับเพลิงกรณีการเกิดเพลิงใหม้ ฝึกซ้อมหนีไฟและซ้อมแผนอพยพ

มหัศจรรย์สวนท้องร่อง ชุมชนบางอ้อ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดย อาจารย์ภูมิ ภูติมหาตมะ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 เพื่อการรวบรวมองค์ความรู้เรื่องสวนท้องร่องในย่านบางอ้อและบางพลัด

ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการบูรณาการภาษาฝรั่งเศสกับศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการสร้างสรรค์ ณ ชุมชนอัมพวา และชุมชนบ้านท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 11-12 มีนาคม 2566

ณ คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดย ฝ่ายวิจัยและกิจการพิเศษ คณะโบราณคดี รุ่นที่ 1

ดยสาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ที่ได้จากประวัติศาสตร์บอกเล่า เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม

โดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ในวันที่ 18-19 มีนาคม และ 1-2 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นการสำรวจ ถ่ายภาพ และจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และเอกสารโบราณ

โครงการ “สมุทรสงครามอยู่ดี” มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas)

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม อาทิ  คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการฝึกเชิงปฏิบัติการด้านอนุรักษ์งานศิลปกรรมและรวบรวมองค์ความรู้เชิงเอกสารด้านงานศิลปกรรมของไทยและการอนุรักษ์ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาออกแบบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ซ่อมแซมศิลปะ ตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อนุสิทธิบัตรเลขที่ 20489 และมีการอนุญาตให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากผลงานดังกล่าวแก่ บริษัท นานมี อุตสาหกรรม จำกัด อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

โดยมีหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และหอศิลป์ของคณะวิชาต่าง ๆ ทางด้านศิลปะ ซึ่งใช้ในการจัดแสดงผลงานทางสร้างสรรค์ทางศิลปะ วัฒนธรรม การเสวนาทางวิชาการ และการฉายภาพยนตร์ ที่หมุนเวียนกันมาจัดแสดงตลอดทั้งปี

ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนโดยลดการใช้พลังงานคาร์บอนสูง ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Shuttle Bus) เพื่อรับ-ส่ง นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างค่านิยมในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรและอุบัติเหตุบนถนนมาอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตั้ง Solar rooftop เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในหน่วย

คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์รวัสสวัส วสิษฐกัมพล (อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปไทย) ได้จัดนิทรรศการภาพคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ในวันที่ 19 – 21 มกราคม 2566 ณ ท้องพระโรง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

คณะนักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นำโดย ผศ.ดร.นภวรรณ รัตสุข และ ผศ.ดร.อังก์ศิริ ทิพยารมณ์ ได้เขาเยี่ยมชม #PreciousPlasticBangkok

รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการถอดองค์ความรู้ผลงานหัตถศิลป์ภาคกลาง เพื่อการเผยแพร่ผลงานนิทรรศการการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะและงานหัตถศิลป์ในพื้นที่ภาคกลาง และการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์งานศิลปะ เมื่อวันที่ 20 ต.ค. – 20 ธ.ค. 2565 เพื่อจัดทำนิทรรศการต้นแบบสำหรับการบริหารจัดการนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาและงานวิจัยในสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติด้วยตำรา

ภายใต้โครงการจัดการความรู้ทางมานุษยวิทยาและองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ณ โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย อำเภอแกลง และโรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยองโดย ในวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2565

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดำเนินการให้มีทางเดินเท้าที่ปลอดภัยสำหรับนักศึกษา บุคลากร และผู้สัญจรทั่วไปในทุกวิทยาเขต โดยได้มีการดำเนินการติดตั้งหลังคาเพื่อป้องกันแสงแดดและฝนเพิ่มเติมอีกด้วย นอกจากนี้ บางพื้นที่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเพื่อรองรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและการเคลื่อนไหวอีกด้วย

มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการก่อสร้างอาคารใหม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน TREES (Thai Rating of Energy and Environmental Sustainability) การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ คอนกรีตมวลเบา ไฟ LED ผ้าม่านโซลาร์เซลล์ วัสดุกันน้ำที่สะท้อนแสงอาทิตย์ กระจกทนความร้อน และแผ่นเหล็กเจาะรู นอกจากนี้ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารซึ่งส่งผลให้ลดการใช้ไฟฟ้าสำหรับระบบปรับอากาศ

การพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยมาเผยแพร่ทางสาธารณะผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัล และการสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ผ่านการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของเล่นทางศิลปะ (Art Toy)

โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี สานพลังความรู้-พลังพหุภาคีปลุกชีพจร “อัมพวา” รศ.ดร.เกรียงไกร  เกิดศิริ รองคณบดีคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยสมุทรสงครามอยู่ดี : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งมอบคุณค่าตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

มหาวิทยาลัยศิลปากรมีการสนับสนุนให้มีการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ทำบาทวิถี เพื่อให้สามารถเดินเท้าได้อย่างปลอดภัย มีบริการรถรางไฟฟ้าสำหรับนักศึกษาและพนักงาน ในการโดยสารไปยังส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  

กิจกรรมและสวัสดิการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระและเมืองทองธานี จัดกิจกรรมบริการรถรับส่ง SUMUV (SU x MoveMi) เพื่อส่งเสริมการใช้รถสาธารณะพลังงานสะอาด และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน โดยมีการบริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สนามหลวง – วังท่าพระ – สนามหลวง เส้นทางที่ 2 วังท่าพระ – MRT สนามไชย (Exit 1) ป้ายรถเมล์ Museum Siam – วังท่าพระ ช่วงเวลาให้บริการ แบ่งเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบเช้า (เวลา 7.00 – 10.00 น.) รอบกลางวัน (เวลา 12.00 – 14.00 น.) และรอบเย็น (เวลา 16.00 – 18.00 น.)

มหาวิทยาลัยศิลปากรให้บริการที่พักราคาถูกแก่นักศึกษาทั้งชายและหญิงที่มีภูมิลำเนาไกลและมีความจำเป็นในการอาศัยอยู่ในหอพักภายในบริเวณมหาวิทยาลัยในวิทยาเขตต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษา หอพักถูกออกแบบให้ตอบสนองความต้องการและความสะดวกสบายของนักศึกษาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องพักสะอาดและปลอดภัย พื้นที่ทำกิจกรรมส่วนกลาง ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายอาหาร รวมถึงการดูแลและสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดสรรหอพักเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นอาคารห้องชุดครอบครัว จำนวน 5 อาคาร อาคารละ 11 ห้อง บ้านพักรับรองประเภทชั้นเดียว จำนวน 14 หลัง และบ้านพักรับรองประเภท 2 ชั้น จำนวน 17 หลัง

มหาวิทยาลัยศิลปากรมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าและรกร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการปรับปรุงอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งาน ทั้งนี้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังเป็นการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) มีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการและภูมิปัญญาเพื่อสังคม จึงมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนด้านศิลปะและมรดก (Art and heritage) ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย โดยมีการจัดตั้งหอศิลป์มหาวิทยาลัยฯ หลายแห่งตามวิทยาเขตต่าง ๆ