
สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
(Build resilient infrastructure, promote inclusive and sustainable industrialization and foster innovation)
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ได้จัดกิจกรรม CreativeMatters Talk ในหัวข้อ “HOW-TOOL” Creative & Design โดยได้รับเกียรติจากคุณดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมองค์ความรู้ และคุณอินทรพิทักษ์ เจริญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารองค์ความรู้และระบบข้อมูล จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ซึ่งได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลด้านการออกแบบสำหรับนักสร้างสรรค์ 4 ฐานข้อมูลสำคัญ
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์” ครั้งที่ 17 มหกรรมหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ระหว่าง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 20.30 น. ณ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดโอกาสให้ประชาคมศิลปากรและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ในหลากหลายแขนง ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย ภายใต้แนวคิด “Borderless Knowledge” หรือ “สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต”
มหกรรมหนังสือสื่อสร้างสรรค์ CreativeMatters & Art Book Fair 2025 ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 14 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้แนวคิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และการออกแบบ พร้อมกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายหนังสือ งานศิลปะ อาหาร และกิจกรรมที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในทุกกิจกรรมมีการสอดแทรกแนวคิดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 งานกิจการนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ (พื้นที่การศึกษาบางรัก) ได้จัดกิจกรรมโครงการ “Empowering the Next Generation of Innovators” เพื่อส่งเสริมความรู้และเปิดมุมมองด้านนวัตกรรมทางธุรกิจสำหรับอนาคตให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ตัวแทนคณาจารย์ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมงานสัมมนาหัวข้อ SUSTAINABLE TRAVEL: THE WORLD’S TRENDY CARBON NEUTRAL HOTELS
มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ
ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065
วันที่ 7 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน เรื่อง “เขียน Prompt อย่างไรให้ AI ส่งงานถูกใจเรา” โดยมี นายสุเมธา ปานพริ้ง นักเทคโนโลยีสารสนเทศปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้อง 3304 อาคารศึกษาศาสตร์ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง จัดโครงการ “Library Talks : การอภิปราย เรื่อง เปิดโลก Generative AI กับห้องสมุด”ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-12.00 น.
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ D CEO Network 2 : D CEO Driven ESG ภายใต้โครงการ D CEO NETWORK รุ่น 2 : D CEO Driven ESG ขับเคลื่อนเครือข่ายผู้บริหารระดับสูง ส่งเสริมการเติบโตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 2 ประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมในการขยายกำลังการผลิตแอลกอฮอล์ โดยใช้ Crude Ethanol และการใช้วัตถุดิบจาก Cellulose เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 – 20 มิถุนายน 2567
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการพัฒนานวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภนนท์ หอมสุดนำนักศึกษาต่างชาติจากหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ร่วมกับ อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการ Tourism Business 2023 “พลิกฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวไทย” ประจำปี 2566
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Mythophobia “ผีอาเซียน” จากจักรวาลผีสู่จักรวาลนฤมิต (Metaverse of ASEAN Ghosts) นับเป็นโมเดลเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย ขอเชิญชวนทุกท่านมาท่องโลกกับ “Mythophobia”
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำโดย อาจารย์อรัญญา อุดมวิชัยวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ จัดโครงการ CEO Network มองภาพกว้าง สร้างวิสัยทัศน์ พบโอกาสทางธุรกิจ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน – 17 ธันวาคม 2566 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและเปิดโอกาสในการต่อยอดความสำเร็จในธุรกิจ นอกโดยการสร้างองค์ความรู้ ทักษะที่ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจสู่ระดับสากล และเชื่อมโยงโอกาสในการเข้าสู่แหล่งทุน การร่วมลงทุน หรือการขยายธุรกิจต่อไป
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการศึกษาในอนาคต วิทยากรโดยร้องศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรของสำนักดิจิทัลเทคโนโลยี บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร บุคลากรหน่วยงานอื่น รวมถึงบุคลากรบุคลากรภายนอกที่สนใจ
ศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดยผู้ช่วยศาสตรจารย์.ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ผ่านการจัดตั้งธุรกิจใหม่ (spin-off) โดยมีวัตถุประสงค์ในการขยายผลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และก่อให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจ สามารถขยายผลสู่ผลิตภัณฑ์และบริการเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ บริษัท ดิจิเทค ซัพพลาย โซลูชั่น จำกัด ให้บริการด้านการวางระบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ช่อฟ้า สตูดิโอ ให้บริการผลิตเครื่องประดับจากอัญมณีและโลหะมีค่า ซึ่งทั้งสองบริษัทได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2566 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
โครงการกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการฝึกเชิงปฏิบัติการด้านอนุรักษ์งานศิลปกรรมและรวบรวมองค์ความรู้เชิงเอกสารด้านงานศิลปกรรมของไทยและการอนุรักษ์ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาออกแบบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ซ่อมแซมศิลปะ ตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โครงการ “สมุทรสงครามอยู่ดี” มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas)
ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อนุสิทธิบัตรเลขที่ 20489 และมีการอนุญาตให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากผลงานดังกล่าวแก่ บริษัท นานมี อุตสาหกรรม จำกัด อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ผลงาน “องค์ประกอบและกรรมวิธีการผลิตสารละลายพ่นจมูกสำหรับการรักษาและป้องกันโรคโควิด-19” ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อนุสิทธิบัตรเลขที่ 20489
กระบวนการผลิตและองค์ประกอบของสีอะคริลิค
โครงการกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์งานศิลปกรรมประเภทผ้าใบโดยใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนอุดหนุนการทํากิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจําปีงบประมาณ 2564 ในส่วนแผนงานพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2564
มหาวิทยาลัยศิลปากรส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยส่งเสริมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดความรู้สำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ในปี 2563
โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์จากข้อมูลการเกิดไฟป่าทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบันในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบ่งให้เห็นว่ามีการจำนวนการเกิดไฟป่าสูง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2563
มหาวิทยาลัยศิลปากรมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันสร้างสรรค์ชั้นนำที่มุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ภารกิจของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นรวมถึงในระดับชาติผ่านการใช้นวัตกรรม ดังนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้จัดตั้ง SU Innovation (SU-Inno) ในปี 2563
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการพัฒนานักศึกษาผู้ประกอบการ (Entrepreneurs Silpakorn) โดย
ได้จัดหาทุนสนับสนุนจากหลากหลายแหล่งทุน สำหรับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (Innovative Startup) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560
มหาวิทยาลัยศิลปากรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีนักศึกษาต่างชาติที่มาจากประเทศรายได้น้อย เพื่อส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และส่งเสริมให้ผู้มีความรู้ความสามารถมีโอกาสพัฒนาศักยภาพและนำความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย ทั้งนี้มีนักศึกษาที่มาจากประเทศรายได้น้อย จำนวนทั้งสิ้น 30 คน จาก 8 ประเทศ ดังนี้ กัมพูชา 13 คน ลาว 5 คน ปากีสถาน 3 คน ไลบีเรีย 2 คน แซมเบีย 1 คน มาลาวี 1 คน เนปาล 4 คน และโซมาเลีย 1 คน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับนักศึกษาต่างชาติที่มาจากประเทศที่หลากหลาย
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.จงกล คำไล้ หัวหน้าโครงการ จัดโครงการกิจกรรมการออกแบบและจัดทำเครื่องมือเชิงสถิติสำรวจและวิเคราะห์ภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ