
สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
(Ensure availability and sustainable management of water and sanitation for all)
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ จัดกิจกรรม SANAM SMALL GREEN ภายในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 17 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย SU Green Library ผ่านกิจกรรมรักษ์โลกทั้ง 4 กิจกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดโอกาสทางการศึกษาให้บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของตนในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ผ่านระบบคลังหน่วยกิต “SU4Life” ในรายวิชาเทคโนโลยีน้ำเสีย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ Online และ Onsite ทั้งนี้ผู้เรียนที่เข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ผ่านการศึกษารายวิชาในระบบคลังหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือเป็นการรับรองความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าว
คณะเภสัชศาสตร์ ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการติดตั้งกังหันตีน้ำบริเวณบ่อน้ำข้างห้องสมุดคณะ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายสารอินทรีย์ และทำให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบ่อน้ำอยู่รอด นับเป็นการบำบัดน้ำเน่าเสียเพื่อลดปัญหามลภาวะทางน้ำ
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ มีการบริหารจัดการน้ำและการใช้น้ำ โดยมีบ่อพักน้ำเสีย ป้องกันการไหลลงบ่อน้ำธรรมชาติและบ่อบำบัดน้ำเสียรวมที่มีกระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon: AL)
ปัจจุบันมีกำลังผลิตประมาณ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งสามารถรองรับประชากรของวิทยาเขตได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ประสานให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลทำการขุดเจาะและติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 5 บ่อ เป็นการสำรองน้ำไว้ใช้กรณีน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองจิกขาดแคลน โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีมีระบบบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการธรรมชาติ
โดยติดตั้งตู้บริการน้ำดื่มตามอาคารเรียนทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยน้ำดื่มของทางมหาวิทยาลัยศิลปากรบริหารจัดการภายใต้โครงการผลิตน้ำดื่มคุณภาพมหาวิทยาลัยศิลปากร
เตรียมแก้วน้ำส่วนตัวของคุณให้พร้อม วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคมนี้ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราแจกเครื่องดื่มเย็น..เย็น..ฟรี กิจกรรมนี้ เราอยากให้ทุกคนร่วมกันลดการใช้พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง (Single-use Plastic) และอยากส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ซ้ำ (Reuse)
มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยการปลูกพืชทนแล้ง เช่น ต้นยูคาลิปตัส, ต้นราชพฤกษ์ เพื่อส่งเสริมการประหยัดการใช้น้ำ และมีการสูบน้ำจากสระน้ำที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยในการรดน้ำต้นไม้และสนามหญ้าภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำภายในภาคส่วนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยการใช้อุปกรณ์สุขภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เช่น ก๊อกล้าง โถสุขภัณฑ์ รวมถึงในห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งนี้ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำในห้องน้ำทั่วทั้งมหาวิทยาลัยคิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 81.2% ของจำนวนสุขภัณฑ์ในห้องน้ำทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดำเนินการสูบน้ำบาดาลมาใช้ภายในมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน โดยในปี พ.ศ. 2566 มีการสูบน้ำบาดาลมาใช้ปริมาณ 466,078 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ออกประกาศนโยบายการบริหารจัดการน้ำ พ.ศ. 2567 เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ เช่น การติดตั้งระบบท่อระบายน้ำทิ้งและนำมารดน้ำต้นไม้ การติดตั้งระบบสูบน้ำและกรองเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ บริเวณอาคารทั้งหมดในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี รวมถึงมีการดำเนินโครงการพื้นที่บูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเส้นทางการเดินทาง ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ยในการออกแบบระบบระบายน้ำแบบเปิดสำหรับน้ำเสียจากอาคารต่าง ๆ เพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่บ่อบำบัดน้ำเสียตามกระบวนการทางธรรมชาติ ทั้งนี้สำนักงานวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีจึงได้ติดตั้งระบบชลประทานที่ใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดจากบ่อที่ 3
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับสนับสนุนงบประมาณด้านการขับเคลื่อนภาคเกษตร จากสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาปรับใช้ผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ที่ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย รศ.อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ และทีมวิจัย ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ชื่อว่า “All-Rice1”