
ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
(Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystems, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss)
คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9”
เมื่อวันที่ 8 – 9 มีนาคม 2568 คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9” ณ อุทยานแห่งชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักรู้ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
โครงการวิจัย “การศึกษาการนำไปใช้ได้ของจุลธาตุอาหารในดินและปุ๋ยด้วยเซนเซอร์ฟลูออเรสเซนต์ราคาประหยัดแบบตาเปล่าสำหรับการเกษตร” (FF 2567) ทีมผู้วิจัยนำโดย รศ.ดร.นัทธีรา สรรมณี จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ศ.ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ, ผศ.ดร.กฤช เศรษฐการ, ผศ.ดร.สุนทร สุวอเขียว จากภาควิชาเคมี และ ผศ.ดร.ปรารถนา เผือกวิไล จากภาควิชาชีววิทยา ทีมนักศึกษาปริญญาโท 3 คน และปริญญาตรี 3 คน
เมื่อวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2567 สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนและความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดิน เพื่อความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจของชุมชน และเป็นการปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวรรยา ธรรมอภิพล พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ เข้ารับฟังการบรรยายการทำเกษตรกรรมสวนกาแฟอย่างยั่งยืนและร่วมกิจกรรมวิธีการปลูกกาแฟ การเก็บเมล็ดกาแฟ การคั่วเมล็ดกาแฟ และการชงกาแฟสำหรับผู้ประกอบการ ณ ชุมชนภูเสือเต้นและชุมชนท้องตมใหญ่ จังหวัดชุมพร
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะบริเวณชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเทศกิจ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลกพี่ชวนกรีนวันแรก หอสมุดวังท่าพระจัดกิจกรรม “พี่ชวนกรีน” เนื่องในวันที่ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 ณ บริเวณหน้าหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการปันรักษ์ปลูกป่า ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 โครงการ Green En-Tech โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร
สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ศิลปกรรรมและวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตชุมชน ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ธนาคารขยะจัดตั้งบริการเพื่อต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการรับษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าตามหลัก BCG Economy Modelโดยในธนคารขยะมีการเปิดทำการ 5 วันต่อสัปดาห์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น.
เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 66 โครงการ GREEN CAMPUS KICKSTART: STEP ONE TO SUSTAINABILITY โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร
มหาวิทยาลัยศิลปากรสนับสนุนทุนวิจัย โครงการวิจัย การสร้างฐานความรู้ของการสะสมซิลิกาในใบไผ่สู่การพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบการสกัดนาโนซิลิกาจากไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกระดับการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
โครงการ “สมุทรสงครามอยู่ดี” มุ่งจัดการองค์ความรู้และเก็บข้อมูลปฐมภูมิทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศแผนที่ทางวัฒนธรรม (Geographic Informative Cultural Atlas)
กิจกรรมเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ และดูแลสิ่งแวดล้อมโดยมีกิจกรรมสำรวจนกบริเวณวัดสวนใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
มหาวิทยาลัยศิลปากรส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยส่งเสริมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดความรู้สำหรับชุมชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ในปี 2563
โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์จากข้อมูลการเกิดไฟป่าทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบันในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนบ่งให้เห็นว่ามีการจำนวนการเกิดไฟป่าสูง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2563
ดยมีอาจารย์ ดร.ศรันย์ ภัทร์ สุวรรณรัตน ร่วมเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องราวของ เหี้ยหรือตัวเงินตัวทอง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ทั้งนิเวศป่าและนิเวศเมืองแต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแก่ผู้คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติให้แก่เยาวชน
นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่สังคมที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ และ โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว กรุงเทพมหานคร
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้มีการดำเนินการส่งเสริมให้โรงแรมและที่พัก ร้านอาหารและบริการอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
มหาวิทยาลัยศิลปากรมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันสร้างสรรค์ชั้นนำที่มุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ภารกิจของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นรวมถึงในระดับชาติผ่านการใช้นวัตกรรม ดังนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้จัดตั้ง SU Innovation (SU-Inno) ในปี 2563
ในปี 2562 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือในการสนับสนุนการผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม Bio PBS (Polybutylene succinate) กับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงการอบรม Go Go SU GREEN LIBRARY,โครงการอบรมการให้ความรู้เรื่องการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม,GREEN ENTECH GREEN CAMPUS,“พี่ชวนกรีน” เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลก