เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

(Strengthen the means of implementation and revitalize the Global Partnership for Sustainable Development)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ Green Entech Green Campus ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร ภายในงานมีการให้ความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ และความสำคัญของการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากนักศึกษาและบุคลากรเป็นอย่างมาก โดยสามารถรวบรวมขวด PET และพลาสติกใสยืดได้มากกว่า 1,400 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ต่อไป

คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9”

เมื่อวันที่ 8 – 9 มีนาคม 2568 คณะศึกษาศาสตร์ จัดโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “EDU SAVE THE EARTH ครั้งที่ 9” ณ อุทยานแห่งชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักรู้ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)  

 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ประกาศนโยบายขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมโครงการอบรมจากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย รวมถึงคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ให้นำแก้วส่วนตัวมาใช้แทนแก้วพลาสติกหรือแก้วใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 งานกิจการนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ (พื้นที่การศึกษาบางรัก) ได้จัดกิจกรรมโครงการ “Empowering the Next Generation of Innovators” เพื่อส่งเสริมความรู้และเปิดมุมมองด้านนวัตกรรมทางธุรกิจสำหรับอนาคตให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นเวทีประกวดศิลปะระดับชาติที่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยได้แสดงออกทางศิลปะ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานด้านศิลปกรรมสู่สาธารณชนในระดับชาติ นอกจากการเป็นเวทีให้แก่ศิลปินมืออาชีพแล้ว การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจศิลปะให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่จัดแสดง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sustainable University Network of Thailand – SUN Thailand) ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยพะเยา

เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง โดยสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายประสานงานสถาบันการศึกษา 35 แห่งใน 11 จังหวัดภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ นครนายก และกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) ได้ประกาศนโยบายสำคัญเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ในวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ พร้อมด้วยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าร่วมโครงการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อช่วย “ลด” และ “ชดเชย” (lower & offset) การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง เครือข่ายC-อพ.สธ. ภาคกลางตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จ.ราชบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ อาจารย์ประจำสาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นในระบบ SU4Life ในหัวข้อ “Basic Knowledge about Sustainable Development Goals (SDGs) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ประการ พร้อมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติและการประยุกต์ใช้ SDGs ในชีวิตประจำวัน

โครงการ Thailand Culture 21 Best Practice ได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านริมคลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนค้นหาคำตอบเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนาวัฒนธรรมในพื้นที่ และแนวทางการต่อยอดวัฒนธรรมในพื้นที่ให้ยั่งยืนในระยะยาว กิจกรรมประกอบด้วยการตั้งคำถามชวนคิดถึงมุมมองวัฒนธรรมสมุทรสงครามในหลายประเด็น

มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ

  • ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039

  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ “การพัฒนาศักยภาพและการเสริมสร้างความรู้ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก” ระหว่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดย สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 7 กันยายน 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดโครงการ “การจัดการขยะทางน้ำจากอัมพวาสู่อ่าวไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดสมุทรสงคราม

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และแพลตฟอร์ม Roaming Elephants จัดทำโครงการ Thailand Culture 21 best practice เพื่อประกาศจุดยืนในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมไทยสู่ความยั่งยืนและเชื่อมโยงเครือข่ายวัฒนธรรมไทยสู่ระดับสากล โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด Agenda 21 for Culture และจัดทำองค์ประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากมิติวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชน/แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมในประเทศไทย สร้างความตระหนักรู้และนำวัฒนธรรมมาเป็นต้นทุนในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกับนานาประเทศต่อไป

เพื่อส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน การเข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับมหาวิทยาลัยในประเทศและสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อมุ่งเป็นต้นแบบสำคัญที่สามารถนำไปขยายผลและเป็นแนวทางสำหรับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมของประเทศต่อไปในอนาคต

การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ จัดโครงการ “การจัดทำแผนแม่บท
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยศิลปากร” ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และเข้าร่วมโครงการฯ

ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณณดา ภมรปฐมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร 

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 8.30 – 17.00 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ” มหาวิทยาลัยศิลปากรกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”

กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย และพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนความยั่งยืนระดับพื้นที่

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับทุนสนับสนุนการจัดการความรู้และถ่ายทอดการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 9,070,000 บาท

ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ESG and Sustainable Finance” ภายใต้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Hub of Waste Management for Sustainable Development: WMS HUB) เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (SUN Thailand) ครั้งที่ 4

คณะอักษรศาสตร์ยังได้จัดโครงการเสวนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ สมุทรสงครามศึกษาเมืองแห่งสายน้ำทางปัญญา วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

มหาวิทยาลัยศิลปากรสนับสนุนทุนวิจัย โครงการวิจัย การสร้างฐานความรู้ของการสะสมซิลิกาในใบไผ่สู่การพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบการสกัดนาโนซิลิกาจากไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกระดับการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ศรายุทธ แสนมี ผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำทีมงานเข้าพบ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ณ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันในการดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ในการนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันนำเสนอข้อมูลและแนวทางการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจและวางแผนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลดีต่อชุมชนในพื้นที่

มหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้สนับสนุนและเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย (Reinventing University)

คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พสุนนท์ หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมทีมงาน ได้เข้าพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายณัฎฐชัย นำพูลสุขสันติ์ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 

การพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยมาเผยแพร่ทางสาธารณะผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัล และการสร้างมูลค่าเชิงสร้างสรรค์ผ่านการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมและการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของเล่นทางศิลปะ (Art Toy)

โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี สานพลังความรู้-พลังพหุภาคีปลุกชีพจร “อัมพวา” รศ.ดร.เกรียงไกร  เกิดศิริ รองคณบดีคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยสมุทรสงครามอยู่ดี : การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งมอบคุณค่าตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

เพื่อร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการวิจัยระหว่างผู้แทนหน่วยงานหรือชุมชนกับนักวิจัยให้กับบุคลากรของคณะได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอในการวิจัยงานสร้างสรรค์ รวมทั้งการบริการวิชาการที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่นั้น ๆ

จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความร่วมมือในการติดตั้งเครื่อง Sun photometer กับหน่วยงาน The National Aeronautics and Space Administration (NASA), the Aerosol Robotic Network (AERONET) and the Micro-Pulse Lidar Network (MPLNET)

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 32nd Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference”

สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัด “โครงการฉ่อย Journey กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน: ประชาสัมพันธ์รายการฉ่อย Journey”

คณะนักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นำโดย ผศ.ดร.นภวรรณ รัตสุข และ ผศ.ดร.อังก์ศิริ ทิพยารมณ์ ได้เขาเยี่ยมชม #PreciousPlasticBangkok

โครงการศึกษาดูงานครั้งนี้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้นํามหาวิทยาลัย Sunway และมหาวิทยาลัยประเทศไทย นอกจากนั้น SDSN Malaysia ได้แบ่งปันเกี่ยวกับโครงการต่างๆ เช่น Science Panel for Southeast Asia Biodiversity Protection, Mission 4.7, Asean Green Future, SDG Academy, poverty eradication และ designing institutions for good governance

โครงการอบรม Go Go SU GREEN LIBRARY,โครงการอบรมการให้ความรู้เรื่องการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม,GREEN ENTECH GREEN CAMPUS,“พี่ชวนกรีน” เนื่องใน วันสิ่งแวดล้อมโลก