สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา

(Ensure access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all)

 วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.30-15.00 น. องค์กรวิจัยด้านการเกษตรและอาหารแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น (The National Agriculture and Food Research Organization – NARO) ร่วมกับมหาวิทยาลัยริทสึเมคัง (Ritsumeikan University) ประเทศญี่ปุ่น โดยมี Dr. Yasuyuki Okimori และ Ms. Minako Doi เป็นผู้นำคณะ ได้ขอสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิกร ศรีภิรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และหน่วยวิจัยก๊าซเรือนกระจกเพื่อความยั่งยืน (Greenhouse Gas Research Unit for Sustainability – GGUS) มหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ตัวแทนคณาจารย์ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมงานสัมมนาหัวข้อ SUSTAINABLE TRAVEL: THE WORLD’S TRENDY CARBON NEUTRAL HOTELS

ศูนย์ความเป็นเลิศและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการสัมมนาพิเศษในหัวข้อ “Sustainable Travel: The World’s Trendy Carbon Neutral Hotels”

มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 19 กันยายน 2567 โดยมีเป้าหมาย คือ

  • ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ.2039
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รับเกียรติจากคุณณัฐธิดา บุญผดุง (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 8) บริษัท Easy Engineering & Solutions จำกัด บรรยายในหัวข้อ “Solar Cell with Life Style of New Gen” 

รศ. ดร. ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ พร้อมนักศึกษาสาชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ อีก 3 คน ได้แก่ น.ส.ต้องตา จินตกสิกรรม น.ส.ปิยธิดา ทองเกลี้ยง และ น.ส.พัชรพร ขันต๊ะ  ได้รับเชิญจากสถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อเข้าร่วม Climate Talk Workshop on “Energy Storage Technologies including Hydrogen”

ในปี พ.ศ.2567 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 62,683.87 GJ (ปริมาณการซื้อ) ประกอบด้วย

มหาวิทยาลัยศิลปากรมีการบ่มเพาะและสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (UBI) โดยมีการดำเนินการในด้านต่าง ๆ

สืบเนื่องจากการที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร ดำเนินการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx 300 และเพื่อเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา หมวด 6 ระบบปฏิบัติการ สำนักงานคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จึงได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลในหมวดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 มีการกำหนดนโยบาย การกำหนดเป้าหมายการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมสำนักงานสีเขียว ณ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (ตึกเก่า) ประกอบด้วยอาคาร 4 ชั้น

สำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัด “โครงการฉ่อย Journey กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน: ประชาสัมพันธ์รายการฉ่อย Journey”

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนโดยลดการใช้พลังงานคาร์บอนสูง ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Shuttle Bus) เพื่อรับ-ส่ง นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างค่านิยมในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรและอุบัติเหตุบนถนนมาอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตั้ง Solar rooftop เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในหน่วย

เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและพลังงานได้มีการกำหนดมาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน

การประชุมหารือโครงการ การพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สำเนียงงาม รองอธิการบดีพระราชวังสนามจันทร์ เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงาน คณะวิชา ร่วมการประชุม

รับฟังข้อเสนอโครงการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแบบลอยน้ำ (Floating Solar) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่

เพื่อให้การอนุรักษ์พลังงานมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่งและยั่งยืน บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงาน โดยให้ถือเป็นหน้าที่ในการปฏิบัติงาน

ต่อยอดความรู้ทางด้านการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม ตอบโจทย์ #วัยทำงาน หรือจะ #สะสมหน่วยกิต เพื่อเรียนต่อ ด้วยรายวิชาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร 

มหาวิทยาลัยศิลปากรตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานสะอาด จึงได้ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในทุกวิทยาเขต โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนหลัก สามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 1,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีมีพื้นที่ชั้นของอาคารภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 452,955 ตารางเมตร ซึ่งมีการใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยบคือ ซื้อมาจำนวน 62,683.87 GJ และผลิตได้เอง 8,672.40 GJ รวมเป็น 71,356.27 GJ คิดเป็นสัดส่วนปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดต่อพื้นที่ชั้นของอาคาร คือ 0.158 GJ/ตารางเมตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนโดยลดการใช้พลังงานคาร์บอนสูง ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Shuttle Bus) เพื่อรับ-ส่ง นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยสร้างค่านิยมในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรและอุบัติเหตุบนถนนมาอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตั้ง Solar rooftop เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในหน่วย ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้พลังงานโดยมุ่งสู่การใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับรณรงค์เรื่องการใช้ยานพาหนะประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินโครงการเกี่ยวกับอนุรักษ์พลังงานมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงการทำแผนแม่บทส่งเสริมให้มีการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการใช้รถประจำทางไฟฟ้าพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับใช้กับรถจักรยานยนต์และรถประจำทางเพื่อให้เป็นการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน